น้ำสกัดชีวภาพว่านชักมดลูก
มีคุณประโยชน์ในการเสริมสร้างส่วนต่างๆ ของร่างกายดังต่อไปนี้
- ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้นมีน้ำมีนวล ผิวลื่นละเอียดขึ้น
- ช่วยบำรุ่งผิวหน้าที่เหี่ยวย่นและหยาบก้านมากๆ ให้ดีขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างหญิงที่มีหน้าท้องที่เหี่ยวย่นหรือหย่อนยานที่เกิดจากการคลอดบุตรให้หายไป
- ช่วยให้ภายในและปากช่องคลอดกระชับ
- ช่วยเสริมสร้างสตรีที่มีอาราณ์ทางเพศบกพร่องให้สมบูรณ์เป็นปกติ
- คนโบราณใช้ว่านชักมดลูกหลังการคลอดบุตรแทนการอยู่ไฟ ช่วยเสริมสร้างน้ำนม
- สำหรับสุภาพบุรุษ ช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมาก
ว่าน ตามความหมายของว่านตามพจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่มีหัวบ้าง ที่ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือเชื่อกันว่าอยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคลบ้าง เช่น ว่านธรณีสาธ ว่านนางล้ม ว่านเสน่ห์จันทร์แดง
ว่าน เป็นคำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อต้นไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร และไม้ประดับหลายชนิด ว่านหลายชนิดถูกเรียกว่า "ว่าน" จดติดปาก และเป็นที่รู้จักกันมาแต่โบราณ จากหลักฐานที่มีการบันทึกไว้ ได้เคยมีการรวบรวมบรรดาว่านต่างๆ เข้ามาเป็นหมวดหมู่ สำหรับให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักถึงชนิดว่าน ลักษณะและสรรพคุณ หรือประโยชน์ของว่านมาแล้วในอดีต ในตำราแพทย์สงเคราะห์ก็มีการกล่าวถึงว่านด้วยเช่นกัน ได้แก่ ว่านกีบแรด ว่านหางช้าง ว่านน้ำ ว่านเปราะ และในปี พ.ศ. 2479 หลวงประพัฒน์ สรรพากร ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับว่าน โดยเขียนหนังสือ "ตำรากระบิลว่าน"เป็นตำราที่ให้ความรู้เรื่องว่านซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักเล่นว่าน ว่าน บางชนิดนอกจากจะปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว บางชนิดยังเชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันอันตราย พิษสัตว์กัดต่อย ยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาเสพย์ติด สามารถดับพิษร้ายให้หายได้ มีคณานุภาพบันดาลให้เกิดผล เกิดโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น เงินทองไหลมาเทมา ทำให้เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม มีคนเคารพนับถือ การนับถืออิทธิฤทธิ์ของว่านยังคงมีแพร่หลายอยู่ในหมู่ชนชาวกะเหรี่ยง, ละว้า, ข่า, ยาง, ชอง รวมทั้งชาวเขมรและลาวตลอดมาจากอดีตจนปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทยก็ยังคงมีผู้เลื่อมใสเชื่อถือในอภินิหารของว่านอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน
ว่านชักมดลูก เป็นพืชในสกุลเดียวกับขมิ้นชัน Curcuma comosa เป็นว่านชักมดลูกพันธุ์พื้นเมืองของไทย บางตำราเรียกว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย ส่วน Curcuma xanthorrhiza เป็นว่านชักมดลูกอีกชนิดหนึ่ง แต่เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย บางตำราเรียกว่าว่านชักมดลูกตัวผู้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์จะคล้ายคลึงกันแต่ C.xanthorrhiza เส้นกลางใบมีสีน้ำตาลอมแดง ขณะที่ C.comsoa เส้นกลางใบไม่มีสีน้ำตาลอมแดง ตามตำรายาแผนโบราณว่า เหง้า รสฝาดเฝื่อน ชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้มดลูกพิการ แก้ปวดมดลูก แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อน ปรุงยาแก้โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้ แก้โรคมะเร็งและฝีภายในต่างๆ สำหรับรายงานการวิจัย ว่านชักมดลูกในส่วนที่ตรงกับสรรพคุณยาไทยนั้น เป็นงานวิจัยฤทธิ์ของว่านชักมดลูกชนิดC.comosaโดยพบว่า
- เมื่อฉีดสารสกัดเหง้า ว่านชักมดลูกเข้าช่องท้องของหนูขาวเพศเมียที่ยังไม่โตเต็มที่ และถูกตัดรังไข่ออก พบว่าสารสกัดด้วยเฮกเซนมีฤทธิ์แรงที่สุดในการเพิ่มน้ำหนักมดลูก และปริมาณไกลโคเจน และยังทำให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุผิวช่องคลอด โดยมีฤทธิ์น้อยกว่าฮอร์โมนเอสตราไดออล ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง แต่สามารถเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสตราไดออลต่อมดลูกของหนูได้ แสดงให้เห็นว่าว่านชักมดลูกมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง
- สารสกัดเหง้าของ เอธานอล สามารถลดฤทธิ์ของสารหลายชนิด ที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดตัว เช่น qzytocin, acetylcholine, serotonin ฤทธิ์นี้อาจช่วยอธิบายสรรพคุณ ของว่านชักมดลูก ในการบรรเทาอาการปวดมดลูกได้
- การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดของว่านชักมดลูกทั้งสองชนิด มีฤทธิ์การกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และลดคอเลสเตอรอล และไดรกรีเซอไรค์ในเลือดได้ จากการที่ว่านชักมดลูกมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน หรือเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และไม่ควรใช้ว่านชักมดลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือในขนาดสูงเพราะจะทำให้มีอาการปวดท้องได้
เหล่านี้เป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจก่อนบริโภคได้ ที่สำคัญอยากเตือนว่าก่อนจะบริโภคสมุนไพรชนิดใด ควรตั้งคำถามกับตัวเองเสียก่อนว่า จะกินทำไม่ ต้องการกินเพื่ออะไร มีความจำเป็นหรือไม่ สรุปว่าควรถามใจตัวให้แน่นอนก่อนดีกว่า ว่ากันอย่างนั้นเถอะ เพราะว่านชักมดลูกเป็นฮอร์โมนจริงๆ การบริโภคในปริมาณที่เกินความจำเป็นอาจเกิดปัญหาได้ เช่น ช่องคลอดมีเลือดออกไม่หยุด ปวดหลัง ปวดท้อง อาการดังกล่าวเป็นการบอกเล่าจากผู้บริโภคว่านชักมดลูกเป็นเวลานาน หารือมาที่เรา แค่เขากินเพื่อความสวยงาม ดังนั้นจึงขอย้ำว่าการบริโภคอยากให้เน้นเพื่อเป็นยา รักษาให้ตรงอาการ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ และไม่ควรกินพร่ำเพรื่อ หรือมุ่งเฉพาะเพียงแค่ความสวยงาม หรือผลเรื่องสมรรถภาพทางเพศและการนำไปใช้ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้รู้จริง
เหล่านี้เป็นข้อมูล ที่คาดว่าจะเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจก่อนบริโภคได้ ที่สำคัญอยากเตือนว่าก่อนจะบริโภคสมุนไพรชนิดใด ควรตั้งคำถามกับตัวเองเสียก่อนว่า ต้องการกินเพื่ออะไร มีความจำเป็นหรือไม่ เพราะว่านชักมดลูกเป็นฮอร์โมน การบริโภคในปริมาณที่เกินความจำเป็น อาจเกิดปัญหาได้ เช่น ช่องคลอดมีเลือดออกไม่หยุด ปวดหลัง ปวดท้อง อาการดังกล่าว เป็นการบอกเล่าจากผู้บริโภคว่านชักมดลูกเป็นเวลานาน ดังนั้น การบริโภคควรเน้นเพื่อเป็นยา รักษาให้ตรงอาการ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ และไม่ควรกินพร่ำเพรื่อ หรือมุ่งเฉพาะเพียงแค่ความสวยงาม หรือผลเรื่องสมรรถภาพทางเพศ และการนำไปใช้ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้รู้จริง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ชื่อวงศ์ : ZINGAIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุกมีหัวอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เนื้อในเหง้า มีสีเหลืองอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับออกเป็นกระจุกเหนือดิน ในรูปวงรี แกมใบหอกมีเส้นกลางใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อบริเวณกาบใบ กลีบดอกสีแดง ใบประดับสีม่วง ลักษณะดอกคล้ายดอกกระเจียว ผลแห้งแตกได้
การขยายพันธุ์ : ใช้หัวว่านปลูกชอบดินร่วนปนทราย
แหล่งที่พบ : พบว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาเลเซีย ไทย ลาว
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เหง้า
สรรพคุณทางยาสมุนไพร : นำเหง้ามาล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตำพอแหลกดองกับน้ำผึ้งพอท่วมหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตำให้ละเอียด คลุกกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนกินเช้า-เย็น หรือ เอาหัวว่านมาฝานบางๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ เอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่ ช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติ รักษา อาการอาหารไม่ย่อย
สรุปวิธีการใช้ว่านชักมดลูก
ควรใช้เพื่อเป็นยารักษาให้ตรงอาการ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดประจำเดือน หรือ สตรี หลังคลอดบุตร เพราะช่วยมดลูกให้เข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา ถ้าจะรับประทาน เพื่อหวังผลในด้านอื่น เช่น บำรุงร่างกาย ลดความเสี่ยงมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ควรมีการพักระยะ เหมือนยาคุมกำเนิด คือรับประทาน 20 วันเว้น แปดวัน เนื่องจากมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน เอสโตรเจน ซึ่งมีในร่างกายและมีในยาคุมกำเนิดนั่นเอง แต่ว่านชักมดลูกไม่มีผลคุมกำเนิด ควรรับประทานตามที่กำหนด ไม่ควรรับประทานครั้งละมาก เพราะอาจเกิดประจำเดือนแปรปรวนมามากกว่าปกติได้ ในทำนองกลับกัน ถ้ารับประทานแล้วมีอาการประจำเดือนผิดปกติ หรือประจำเดือนแปรปรวนก็ควรหยุดรับประทานเพื่อความปลอดภัยสูงสุด จึงไม่ควรรับประทานร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน และยาละลายลิ่มเลือดทุกชนิด
ว่านชักมดลูกเป็นสมุนไพรไทยใช้สำหรับเสริมสร้างภายในช่องคลอดของสตรีว่านชักมดลูกให้คุณประโยชน์กับสุภาพสตรีอย่างมหาศาล(ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้อง)คุณค่าของว่านชักมดลูก แบ่งออกเป็น2 ส่วนใหญ่ๆคือ
ส่วนที่1. ใช้เป็นสมุนไพรดูแลความสะอาดภายในช่องคลอด
ส่วนที่2. ปรุงเป็นอาหารเสริมสร้างร่างกายที่เสื่อมโทรมให้แข็งแรง โดยคุณค่าทั้ง2ส่วนมีรายละเอียดของสรรพคุณเพิ่มเติมดังนี้
ส่วนที่1.ใช้เป็นสมุนไพรดูแลความสะอาดภายในช่องคลอดมีสรรพคุณเพิ่มเติมคือ
1.ใช้ว่านชักมดลูกช่วยดูแลอาการมดลูกต่ำมดลูกโต มดลูกบาง หรือปวดหน่วงมดลูกเป็นประจำ
2.แก้หน่วงเสียวท้องน้อยหรือปีกมดลูกทั้ง2ข้าง
3.แก้ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงระหว่างมีรอบเดือน
4.ช่วยป้องกันไม่ให้แท้งบุตรง่ายหรือตกเลือด
5.ช่วยลดอาการระดูขาวหรือมุตกิดเรื้อรังที่เป็นมานานในสุภาพสตรี
6.ดับกลิ่นภายในช่องคลอดอย่างมหัศจรรย์
7.ช่วยให้ความอบอุ่นกับร่างกายช่วยลดอาการมือ-เท้าเย็น,ขี้หนาว,หนาวในอก
8.ช่วยลดอาการเจ็บหรือปวดภายในช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์
ส่วนที่2.ปรุงเป็นอาหารเสริมสร้างของสุภาพสตรีเพราะว่านชักมดลูก มีกลิ่นมีรสคล้ายกับขมิ้นขาวคนโบราณเวลาไม่มีขมิ้นขาวทานกับน้ำพริกก็ใช้ว่านชักมดลูกหัวอ่อนๆแทนรวมถึงมีคุณประโยชน์ในการเสริมสร้างส่วนต่างๆของร่างกายดังต่อไปนี้อีกคือ
1.ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้นมีน้ำมีนวลผิวลื่นละเอียดขึ้น
2.ช่วยบำรุงผิวหน้าที่เหี่ยวย่นและหยาบก้านมากๆให้ดีขึ้น
3.ช่วยเสริมสร้างหญิงที่มีหน้าท้องที่เหี่ยวย่นหรือหย่อนยานที่เกิดจากการคลอดบุตรให้หายไป
4.ช่วยให้ภายในและปากช่องคลอดกระชับเหมือนสาวๆอย่างมหัศจรรย์
5.ช่วยเสริมสร้างสตรีที่มีอารมณ์ทางเพศบกพร่องให้สมบูรณ์เป็นปกติ
6.ช่วยสตรีที่มีอายุเริ่มเข้าวัยกลางคนที่ไม่มีน้ำหล่อลื่นภายในช่องคลอดให้มีน้ำหล่อลื่นเป็นปกติ
7.คนโบราณใช้ว่านชักมดลูกหลังการคลอดบุตรแทนการอยู่ไฟช่วยเสริมสร้างน้ำนม ของแม่
สรรพคุณพิเศษคนโบราณใช้ว่านชักมดลูกบรรเทาโรคเริม หรืออาการผื่นคันปวดแสบปวดร้อนในช่องคลอดอย่างได้ผล เมื่อบำรุงร่างกายด้วยว่านชักมดลูกจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และอาการที่เคยมีความดันต่ำ, เลือดน้อย,อ่อนเพลีย,เหนื่อยง่าย, เวียนศีรษะ, ใจสั่น, ใจหวิวจะเป็นลม, มือเท้าเย็น-ชา, นอนไม่หลับอาการเหล่านี้เมื่อรับประทานว่านชักมดลูกแล้วมีผลพลอยได้ทำให้หายไป ข้อควรจำเกี่ยวกับการใช้ยาน้ำว่านชักมดลูกเมื่อเริ่มทานน้ำว่านชักมดลูก ทานติดต่อกัน12-15วัน ก็จะเห็นผล ถ้าทานไม่ต่อเนื่องสรรพคุณก็จะเห็นผลไม่ชัดเจน ถ้าเกิดมีอาการไข้, ตัวร้อน ไอ ให้หยุดก่อน เมื่อมีอาการไข้ ตัวร้อน หายแล้วค่อยทานยาต่อ น้ำว่านชักมดลูกมีฤทธิ์ในการกระชับกล้ามเนื้อที่หย่อนยานทุกส่วนของร่างกายให้กระชับแน่นตัวขึ้น เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในวัยทอง หรือคนที่หมดประจำเดือนแล้ว คนที่มีเนื้อหนังเหี่ยวย่น อารมณ์ซึมเศร้า จิตใจไม่สดชื่น เพลียเหนื่อย หรือปวดเมื่อย เป็นเหน็บชาง่าย สำหรับสุภาพบุรษหลายท่านดื่มน้ำสกัดชีวภาพว่านชักมดลูก รักษาอาการต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ผลดี
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง และทำลายเซลล์มะเร็งเต้านมของคนได้ด้วย เช่นเดียวกับขมิ้นชัน แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกของคนโดยตรงได้อีกด้วย ความสามารถในการต่อต้านเซลล์มะเร็งของว่านชักมดลูกมีมากพอสมควร เพราะว่า ลดการแพร่กระจายของมะเร็งในช่องท้องและมะเร็งปอดได้ แต่ยังเป็นการวิจัยในสัตว์ทดลอง สำหรับรายงานการวิจัยว่านชักมดลูกในส่วนที่ตรงกับสรรพคุณยาไทยนั้น มีงานวิจัย วิทยานิพนธ์ โดยทดลองในหนู พบว่า สารสำคัญที่พบในว่านชักมดลูกบางชนิด สามารถออกฤทธิ์เสริมการเจริญของเยื่อบุผนังช่องคลอดให้มีผนังหนาขึ้น คล้ายกับได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน และยังมีผลต่อเยื่อบุมดลูกได้คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย โดยออกฤทธิ์ ที่ receptor เดียวกันกับของฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้วิจัยให้ความคิดเห็นว่า อาจจะสามารถใช้เป็นยาเพื่อทดแทน หรือเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อมดลูกได้
ว่านชักมดลูก มีสองสายพันธุ์หลัก คือสายพันธ์ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma xanthorrhiza Roxb. และ Curcuma comosa จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกขิงข่า ส่วนที่ใช้ทำเป็นยา คือ ราก ใช้แก้ท้องอืดเฟ้อ และที่ใช้กันมากคือส่วนที่เป็นหัว หรือเหง้า สรรพคุณตามตำราแผนโบราณ คือ ชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้มดลูกพิการ แก้ปวดมดลูก แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อน แก้โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้ แก้โรคมะเร็ง และฝีภายในต่างๆ
ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ ว่านชักมดลูกมีสารสำคัญไม่ต่ำกว่า 50 ชนิด ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ที่มีงานวิจัย ได้แก่ การลดการอักเสบ โดยมีการใช้เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในการแก้ปวด และโรคปวดข้อต่างๆ ยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมัน ลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือดซึ่งสูง และลดคอเลสเตอรอลในตับของสัตว์ทดลอง ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ เมื่อได้รับสารพิษ เช่น อเซตามิโนเฟน หรือคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ ต้านเชื้อรา ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด และ มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี และยัง ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับของคน (human hepatoma cells, HepG2) โดยยับยั้งการแบ่งตัว( antiproliferative effect)และทำให้เซลล์มะเร็งตับตายเป็นจุดๆ (apoptosis)ได้
|
|
|
|
Post : 11/05/2022 16:29
อายุ 55 ปี เพษหญิงค่ะ ทานน้ำมหักว่านชักมดลูกได้ไหมค่ะ